4 วิธี เลือกซื้อ Router Wi-Fi

          หลัก ๆ Router ในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็นรุ่นที่รองรับถึงแค่ Wi-Fi 4 (802.11n) กับรุ่นที่รองรับถึง Wi-Fi 5 (802.11ac) ซึ่งรุ่นที่รองรับ Wi-Fi 5 จะรองรับความเร็วสูงมากกว่า และยังสามารถปล่อยสัญญาณ Wi-Fi 4 ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าหากเราใช้อินเทอร์เน็ตแพ็กเกจความเร็ว 100Mbps ขึ้นไปก็ควรจะใช้ Router ที่รองรับ Wi-Fi 5 จะเหมาะสมกว่า แต่อุปกรณ์ที่จะใช้ Wi-Fi ก็จะต้องรองรับ Wi-Fi 5 ด้วยเช่นกัน

          นอกจากนี้ก็ยังมี Router ที่เป็นแบบ Dual-band คือสามารถปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ได้ทั้งคลื่นความถี่ 2.4GHz และ 5GHz ซึ่งเหมาะกับละแวกที่มีคนใช้ Wi-FI กันเยอะ ทำให้ 2.4GHz มีสัญญาณ Wi-Fi ของบ้านข้างเคียงใช้กันหนาแน่น ส่งผลให้อินเทอร์เน็ตไม่เสถียร และการที่ Router เราสามารถปล่อย Wi-Fi ที่คลื่นความถี่ 5GHz ได้นั้นก็จะทำให้สัญญาณไม่ไปชนกับของบ้านอื่น เพราะมีช่องความถี่ให้ใช้ได้เยอะกว่า และแน่นอนว่าอุปกรณ์ที่จะใช้ Wi-Fi ก็จะต้องรองรับคลื่นความถี่ 5GHz ด้วยเช่นกัน

4 วิธี เลือกซื้อ Router Wi-fi เบื้องต้นมีอะไรบ้างนั้น ?

  • คลื่นสัญญาณ 2.4 GHz และ 5GHz
    เลข GHz ดังกล่าวคือความถี่สัญญาณวิทยุไร้สายที่ WiFi ใช้เป็นย่านความถี่สากล โดยคลื่นความถี่ที่ใช้ในมาตรฐาน WiFi ที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะมีสองคลื่น คือ ความถี่ 2.4GHz และ 5GHz โดยที่คลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz เป็นคลื่นที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องจากสามารถครอบคลุมพื้นที่การใช้งานได้ในระยะที่กว้างมากกว่า จึงเป็นย่านความถี่ที่ได้รับความนิยมมากในครัวเรือนไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์แบบไร้สาย หรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นๆก็ใช้คลื่นนี้เช่นกัน ทำให้สัญญาณ WiFi สามารถถูกรบกวนได้ง่ายมากๆ ซึ่งคลื่น 5GHz จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดความหนาแน่นของคลื่น 2.4 GHz โดยคลื่นความถี่นี้แทบไม่มีอุปกรณ์ใดแย่งใช้งาน จึงเหมาะสมในการใช้รับส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่องแบบไร้สายแบบ WiFi มากกว่า 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ แต่ข้อเสียคือระยะการส่งสัญญาณของคลื่น 5GHz ด้อยกว่า 2.4 GHz ถึงเท่าตัว จากความถี่หนาแน่นกว่า จึงแผ่คลื่นไปได้ไม่ไกลเท่า การเลือกซื้อ ดังนั้นเราแนะนำให้ซื้ออุปกรณ์ที่รองรับ 2.4GHz + 5GHz (Dual-band) เพื่อให้คุณไม่มีปัญหากับอุปกรณ์เดิมที่ใช้งานอยู่ และรองรับคลื่นแบนด์วิดท์ใหม่ที่มอบอัตราความเร็วโอนถ่ายสูงกว่า แต่ถ้างบประมาณจำกัด ประกอบกับไม่ได้ใช้งานอินเตอร์เน็ทหนักหน่วงมากอยู่แล้ว ใช้แค่ Chat กับ Social Network แค่เราเตอร์ 2.4GHz ก็พออนุโลมได้
  • มาตรฐานของ WiFi N หรือ AC
    มาตรฐาน WiFi ตามตัวอักษรนั้นสื่อถึงเทคโนโลยีความสามารถในการโอนถ่ายข้อมูล ของ IEEE 802.11 ที่เราพบกันบ่อยๆ จะมี a, b, g, n, ac โดยที่มาตรฐาน ac นั้นเป็นมาตรฐานตัวล่าสุดที่ได้รับการเปิดตัวขึ้นมาให้ใช้งานบนอุปกรณ์รับส่งสัญญาณตามครัวเรือน จึงสามารถทำความเร็วได้มากสุดในกลุ่มเพื่อนอย่างไม่ต้องสงสัย ตามมาด้วย Wifi N ที่ทำความเร็วได้เป็นรอง ac ลงมาระดับหนึ่ง ในการเลือกซื้อ Router ในปัจจุบันเราจึงพบเห็น Router ที่เขียนว่ารองรับคลื่นความถี่เป็นชุดในรูปแบบ a, b, g, n หรือ a, b, g, n, ac ขึ้นอยู่กับช่วงอายุของ Router และราคาค่าตัว แต่อันที่จริงแล้วเราไม่ต้องสนใจ WiFi a, b อีกต่อไป (เว้นเสียว่าคุณมีอุปกรณ์ที่เก่ามากๆ หลักสิบปี…ที่ยังคงรอบรับเพียง Wifi มาตรฐานเก่าเหล่านี้) เพราะอุปกรณ์สมัยใหม่จะมาพร้อมการรองรับมาตรฐาน WiFi n, ac แทบทั้งสิ้น การเลือกซื้อ ถ้าเป็นไปได้เราขอแนะนำให้ท่านเลือกซื้อ Router ที่รองรับมาตรฐาน ac ไว้ก่อนจะเป็นการดีมาก เพราะมาตรฐาน ac ใช้คลื่น 5GHz เป็นหลัก ซึ่งลดความหนาแน่นของ WiFi ได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับ 2.4GHz ที่มักใช้งานบนมาตรฐาน WiFi a, b, g, n ซึ่งอุปกรณ์หลายตัวในปัจจุบันก็รองรับการใช้งาน WiFi ac กันแล้วทั้งนั้น อย่าง iPhone 6s, iPhone 7 เป็นต้น แต่ถ้างบประมาณจำกัด ประกอบกับไม่ได้ใช้งานอินเตอร์เน็ทหนักหน่วงมากอยู่แล้ว ใช้แค่ WiFi n ก็พออนุโลมได้
  • ตัวเลขแสดงช่องว่างสัญญาณหลังตัวอักษร AC หรือ N
    เลขความเร็วของเราเตอร์ต่างๆ ที่ผู้ผลิตแปะโฆษณากันอาจดูหวือหวาในทีแรก แต่พึงระลึกไว้ว่านั้นคือความเร็วในทางทฤษฎี ในทางปฏิบัติ ตัวเลขที่ได้จะแปรพันกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ โดยพื้นฐานแล้ว WiFi n นั้น จะมีตัวเลขสามชุด คือ N150, N300 และ N600 ส่วนเราเตอร์ที่รองรับ WiFi ac ส่วนใหญ่จะมีชุดตัวเลขโฆษณาที่เยอะกว่ามาก (ซึ่งตัวเลขที่แสดงมักจะผนวกตัวเลขอัตราโอนถ่ายบนระบบ WiFi n เข้าไปด้วย) ซึ่ง Router ในปัจจุบันมักบอกมาตรฐานสูงสุดที่รองรับตามด้วยชุดตัวเลขที่แสดงความเร็วของอัตราการโอนถ่าย เช่น AC1200 ตัวเลขนี้หมายยถึง Router ตัวนี้สามารถทำงานด้วยมาตรฐานสูงสุดคือ AC บนคลื่น 5GHz ที่อัตราการโอนถ่ายสูงสุด 867Mbps. และรองรับการทำงานด้วยมาตรฐาน n บนคลื่นความถี่ 2.4 GHz ที่ 300Mbps. ซึ่งเมื่อรวมอัตราการส่งถ่ายทั้ง 2 มาตรฐานเข้าด้วยกันแล้วก็จะได้เป็นประมาณ 1167 Mbps. (867 Mbps. + 300 Mbps.) หรือปัดขึ้นเป็น AC1200 นั่นเอง… แต่ก็ยังไม่รวดเร็วเท่าการโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่ระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่าน Gigabit LAN ที่เป็นการเชื่อมต่อผ่านสาย LAN การเลือกซื้อ ถ้าคุณต้องโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่แบบไร้สายอยู่เสมอๆก็ควรเลือกซื้อ Router ที่มีอัตราการโอนถ่ายข้อมูลสูง เพื่อลดเวลาที่ต้องใช้ไปกับการโอนถ่ายไฟล์ลง
  • เสาสัญญาณ
    นอกจากจะเพิ่มระดับความเข้มข้นในการกระจายสัญญาณแล้ว ปริมาณเสาที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลต่อทราฟฟิคในการโอนถ่ายข้อมูลที่ทำได้อย่างราบรื่นมากขึ้นเพราะการรับส่งสัญญาณผ่าน Wifi เป็นการสื่อสารแบบ 1 ต่อ 1 โดยสลับการใช้งานระหว่างภาครับ/ส่งข้อมูลอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการมีเสาสัญญาณมากกว่า 1 ต้นก็ทำให้การรับส่งข้อมูลนั้นเกิดขึ้นได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องเสียเวลาสลับเสาสัญญาณไปมา เปรียบดั่งถนน 6 เลนจะมีพื้นที่ให้ทราฟฟิคนั้นทำได้อย่างลื่นไหลมากกว่าถนน 2 เลนขับสวนกันนั่นแหละ และส่วนใหญ่แล้วจำนวนเสาจะแปรผันตรงกับเลขความเร็วที่ผู้ผลิตโฆษณาไว้ด้วยเช่นเดียวกัน โดยยิ่งจำนวนเสามาก นั่นแสดงว่าเราเตอร์นั้นมีโอกาสที่จะสามารถโอนถ่ายข้อมูลได้รวดเร็วมากกว่า การเลือกซื้อ หากคุณให้ความสำคัญกับการโอนถ่ายข้อมูลปริมาณมากและมีผู้ใช้งานพร้อมกันหลากหลายคน จำนวณเสาสัญญาณที่มากกว่าก็ย่อมตอบโจทย์การใช้งานได้รวดเร็วและลื่นไหลมากยิ่งขึ้น

✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾

✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾

รับเดินสายแลน – เดินสายไฟเบอร์ – บริการเดินสายแลน – เดินสายไฟเบอร์ – lan – fiber – เดินสาย Cat5 – เดินสาย Cat6 – ติดตั้งกล้องวงจรปิด – เดินสาย CCTV – เดินสายกล้อง – เดินสาย RG6 – เดินสายโทรศัพท์ – เดินสาย Telephone – ติดตั้ง Accesspoint – ติดตั้ง Wireless – RACK