Blog

สายแลน CAT5E, CAT6 และ CAT7 แตกต่างกันอย่างไร?

สายแลน CAT5E CAT6 และ CAT7 แตกต่างกันอย่างไร? ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา เรามาทำความรู้จักกับประเภทของสายแลนกันก่อนค่ะ โดยสายแลนแต่ละรุ่น สามารถจำแนกออกได้ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. แบ่งตามลักษณะการหุ้มฉนวน ทั้งแบบที่มีแต่ฉนวนอย่างเดียวไม่มีฟอยล์ หรือมีฟอยล์นอก หรือมีฟอยล์หุ้มทั้งหมด 2. แบ่งตามการใช้งานแบบภายนอกอาคาร (Outdoor) และภายในอาคาร (Indoor) โดยที่สายแบบ Outdoor จะมีปลอกหุ้มที่แข็งแรงกว่าและหนากว่า สายแบบ Indoor เพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศภายนอกอาคารได้ดีมากขึ้น 3. แบ่งตามการเข้าหัวของสาย LAN หรือตามลักษณะการใช้งาน เราควรเลือกสายนำสัญญาณให้เหมาะสมและรองรับกับอุปกรณ์เชื่อมต่อ เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพมากที่สุด 4. แบ่งตามความถี่ที่รองรับได้ ดังนี้ 4.1) สายแลน CAT5 เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วต่ำที่สุด ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 Mbps สายชนิดนี้จึงไม่เป็นที่นิยมใช้งานกันซักเท่าไร เนื่องจากความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ต่ำ 4.2) สายแลน CAT5E เป็นสายทองแดงที่มีความเร็วที่ต่ำ แต่สูงกว่าแบบแรก ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1 Gpbs 4.3) สายแลน CAT6 […]

สายแลน CAT5E, CAT6 และ CAT7 แตกต่างกันอย่างไร? Read More »

วิธีประหยัดแอร์ในบ้าน

วิธีประหยัดแอร์ในบ้าน ช่วงหน้าร้อน           สวัสดีเมษาหน้าร้อนนนน  ขณะที่พิมพ์อยู่เหงื่อก็ยังไม่หยุดไหลเลย เอาดีๆ ร้อนหรืออ้วน ไขมันเยอะกันแน่ ? จริงๆแล้วประเทศไทยก็ร้อนระอุทั้งปีอยู่แล้วนะ เราก็เปิดแอร์กันทุกวัน ไม่เว้นเสาร์ อาทิตย์ อยู่แล้ว  ดังนั้น วันนี้จะมาเสนอวิธีประหยัดแอร์ในบ้าน เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟที่ต้องหามาจ่ายกันทุกเดือน แถมตอนนี้ช่วง WFH หรือ Work From Home กันด้วย  จะให้มานั่งทำงานร้อนๆ จั๊กกะแร้เปียกได้ไงเล่า จริงมั้ย ?  วิธีที่ 1  ล้างแอร์ ล้างแอร์กันบ้างยังอ่ะ ตั้งแต่หน้าร้อนปีที่แล้วววว ถ้ามีฝุ่นละอองเยอะ ก็จะทำให้แอร์ทำงานหนัก ง่ายๆเลยที่เราสามารถทำได้ ถอดแผ่นกรองออกมาทำความสะอาดโดยการฉีดน้ำไล่ฝุ่นออกไป และนำไปผึ่งแดดให้แห้ง ก่อนเอามาใส่ วิธีที่ 2  เปิดพัดลมพร้อมกับเปิดแอร์ ช่วยได้เด้อเปิดพัดลมไล่ความร้อนออกจากห้องสักพัก แล้วเปิดแอร์พร้อมกับพัดลม จะช่วยให้อุณหภูมิในห้องเย็นขึ้นถึง 2 องศาเลยนะเออ วิธีที่ 3  ตั้งเวลาเปิดปิดแอร์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายแต่จะให้ตั้งเวลาเปิดปิดแอร์ในช่วงกลางวันก็คงยาก

วิธีประหยัดแอร์ในบ้าน Read More »

เดินสายไฟ ภายในบ้าน

เดินสายไฟ ภายในบ้าน วันนี้มี เทคนิคดีๆ จาก ทีม ช่างเดินสายไฟในบ้าน ที่ รับเหมาไฟฟ้า มานาน กว่า 13 ปี มา แชร์กันครับ ประเภทของสายไฟ สายไฟจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สายสำหรับไฟแรงดันต่ำและสำหรับไฟแรงดันสูง ซึ่งสายไฟที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือนจัดอยู่ในประเภทสายไฟแรงดันต่ำ สำหรับในประเทศไทยนั้น สายไฟแรงดันต่ำจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2531 หรือ TIS-11-2531 ตามมาตรฐานแล้วสายไฟแรงดันต่ำจะต้องมีหลายขนาด (พื้นที่หน้าตัด) ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องทนแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 300 โวลต์ ถึง 750 โวลต์ มีลักษณะเป็นสายหุ้มฉนวน ทำด้วยทองแดงหรืออลูมิเนียม โดยทั่วไปแล้วจะเป็นสายทองแดงขนาดเล็กจะเป็นตัวนำตัวเดียว แต่สายขนาดใหญ่เป็นตัวนำตีเกลียว วัสดุฉนวนที่ใช้กับสายแรงดันต่ำ คือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross –Linked Polyethylene (XLPE) ได้แก่ สาย THW,VAF, VAF-GRD,NYY,NYY-GRD,0.6/1KV-CV,VCT,VCT-GRD,VSF,AV,VFF,VKF สายไฟตามมาตรฐาน

เดินสายไฟ ภายในบ้าน Read More »

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสายไฟฟ้า

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสายไฟฟ้า ความหมายของสายไฟฟ้า           สายไฟฟ้า เป็นตัวน ากระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าจนครบวงจร สายไฟแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สายเปลือย และสายไฟหุ้มฉนวน 1) สายเปลือย เป็นสายที่ไม่มีฉนวนหุ้ม มักจะเป็นสายขนาดใหญ่ ใช้กับงานไฟฟ้าแรงสูง มีทั้งสายที่ทำด้วยทองแดง และสายชนิดผสมอะลูมิเนียม สายไฟฟ้าตามถนนที่เป็นสายเปลือย ถ้าสัมผัสแม้โดยทางอ้อมก็อาจเกิดอันตรายได้ 2) สายหุ้มฉนวนที่นิยมใช้ตามอาคารบ้านเรือนมี 2 ชนิด คือสายเดี่ยวและสายคู่ฉนวนที่ใช้หุ้มสายท าด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ยาง ไหม พีวีซี เป็นต้น – ยาง สายหุ้มยาง หมายถึง สายทองแดงเส้นเดียวหรือหลายเส้นหุ้มด้วยยางนิยมใช้กับปลั๊กไฟที่มีโหลดสูงๆ – ไหม เป็นสายหุ้มไหม หมายถึง สายทองแดงหลายเส้นหุ้มด้วยยาง ถักด้วยไหมนิยมใช้กับเตารีดไฟฟ้า – พีวีซี หมายถึง สายหุ้มด้วยพีวีซี นิยมใช้ในอาคารบ้านเรือน ชนิดและการใช้งานของสายไฟฟ้า มอก. 11-2531

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสายไฟฟ้า Read More »

ข้อดี ของการเดินสายร้อยท่อ

ข้อดี ของการเดินสายร้อยท่อ เดินสายแบบร้อยท่อเป็นยังไง งานเดินสายร้อยท่อของกล้อง CCTV นั้น เป็นการนำสายสัญญาณของกล้องใส่เข้าไปในท่อ PVC เพื่อป้องกันสายส่วนใหญ่ท่อที่ใช้จะเป็นท่อ PVCสำหรับเดินสายไฟตามอาคาร บ้านพัก ซึ่งจะมีคุณสมบัติทนต่อความชื้นของสภาวะอากาศและสารเคมี ทนต่อสารที่จะทำให้เกิดการผุกร่อน มีคุณสมบัติพิเศษคือต้านเปลวไฟ ทนต่อแรงกระแทกและแรงอัดได้ดี ไม่เป็นสนิม และที่สำคัญปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้ารั่ว การเดินสายร้อยท่อมีข้อดีดังต่อไปนี้ – ช่วยป้องกันสัญญาณรบกวนได้ เมื่อไม่มีคลื่นมาแทรก ทำให้ได้สัญญาณภาพที่ชัดเจน – ป้องกันการกัดแทะของสัตว์ โดยเฉพาะหนู – ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟรั่ว – ป้องกันไฟไหม้ได้ เนื่องจากคุณสมบัติพิเศษของท่อที่ต้านเปลวไฟ และประกายไฟจะถูกจำกัดให้อยู่ภายในท่อ – เพื่อความสวยงาม และเป็นระเบียบเรียบร้อย ✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾ บริการเพิ่มจุดปลั๊กไฟ เดินสายไฟ แก้ไขสายไฟ Service บริการของเรา เดินสายแลน ราคาสายแลน ตรวจสอบความเร็วสาย เดินสายโทรศัพท์ เพิ่มจุดปลั๊กไฟ เดินไฟ ตู้แร็ค RACK ไฟเบอร์ออฟติก กล้องวงจรปิด CCTV ไวเลส Wireless ✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾ รับเดินสายแลน – เดินสายไฟเบอร์

ข้อดี ของการเดินสายร้อยท่อ Read More »

การเดินสายไฟแบบลอย

การเดินสายไฟแบบลอย สายไฟ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับระบบไฟฟ้าในอาคาร สำหรับผู้ที่คิดจะสร้างบ้านใหม่ หรือคิดที่จะปรับปรุงระบบไฟฟ้าของบ้านเดิมนั้น สิ่งที่มักเป็นคำถามประจำคือ จะเดินสายไฟฝังผนัง หรือแบบลอยดีกว่ากัน ซึ่งทั้งสองแบบนั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของรูปลักษณ์ซึ่งส่งผลต่อสไตล์การตกแต่งบ้าน การก่อสร้าง งบประมาณ และการซ่อมบำรุง           การเดินสายไฟแบบลอย สามารถทำได้ทั้งแบบเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ และการเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ โดยการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟแบบลอย สามารถเลือกใช้ท่อร้อยสายไฟได้ทั้งแบบโลหะ และแบบพลาสติก PVC โดยท่อโลหะจะมีความแข็งแรงทนทาน สามารถโชว์ความสวยงามของท่อได้ ส่วนท่อพลาสติกซึ่งมีราคาประหยัดกว่า แต่ควรทาสีทับท่อเพื่อความสวยงามและกลมกลืนไปกับผนัง ทั้งนี้ การเชื่อมท่อแบบเดินลอยเข้ากับกล่องปลั๊กไฟหรือกล่องสวิตช์ไฟ ต้องคำนึงถึงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้ดี เนื่องจากกล่องปลั๊กไฟและกล่องสวิตช์ไฟจะอยู่บนผนังลอยออกมาเช่นกัน การเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การเดินสายไฟแบบเปิด คือการเดินสายไฟโดยมีเข็มขัดรัดยึดสายไฟเข้ากับผนัง หรือเพดานของอาคาร ทุกระยะประมาณ 10 ซม. ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เต้ารับ สวิตช์ ตู้ไฟหรือแผงวงจร รวมถึงดวงโคมไฟฟ้าในจุดต่างๆ สายไฟที่ใช้จะเป็นสายที่หุ้มฉนวนยาง หรือ PVC  โดยทั่วไปที่ใช้ตามบ้านมักจะเป็นสาย VAF มีลักษณะเป็นสายแบนๆ สีขาว ภายในสายจะมีลวดทองแดง 2 แกนหรือ

การเดินสายไฟแบบลอย Read More »

การเดินสายไฟแบบฝังผนัง

การเดินสายไฟแบบฝังผนัง สายไฟ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับระบบไฟฟ้าในอาคาร สำหรับผู้ที่คิดจะสร้างบ้านใหม่ หรือคิดที่จะปรับปรุงระบบไฟฟ้าของบ้านเดิมนั้น สิ่งที่มักเป็นคำถามประจำคือ จะเดินสายไฟฝังผนัง หรือแบบลอยดีกว่ากัน ซึ่งทั้งสองแบบนั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของรูปลักษณ์ซึ่งส่งผลต่อสไตล์การตกแต่งบ้าน การก่อสร้าง งบประมาณ และการซ่อมบำรุง การเดินสายไฟแบบฝังผนัง เป็นการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) ที่ฝังไว้ในผนัง ซึ่งทำให้ผนังบ้านดูเรียบร้อย ไม่มีสายไฟให้เห็น แต่ก็มีขั้นตอนในการก่อสร้างที่ยุ่งยาก เพราะต้องมีการวางแผนการก่อสร้างเป็นอย่างดี การซ่อมแซมหรือเพิ่ม-ลดสายไฟทำได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น และใช้งบประมาณมากพอสมควร ส่วนการเดินสายไฟแบบลอย สามารถทำได้ทั้งแบบเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ และการเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ ซึ่งจะเห็นสายไฟเป็นเส้นๆ แนบไปกับผนัง การเดินสายไฟแบบลอยจะใช้งบประมาณที่น้อยกว่า และการซ่อมแซมหรือเพิ่ม-ลดสายไฟทำได้ง่ายกว่า แต่ก็ต้องคำนึงถึงการเดินสายไฟให้เป็นระเบียบสวยงาม          การเดินสายไฟแบบฝังผนัง สามารถฝังได้ทั้งในผนังเบา และผนังก่ออิฐ สำหรับผนังเบาเป็นผนังที่ประกอบไปด้วยโครงคร่าว ที่มีช่องว่างภายใน สามารถเดินท่อร้อยสายไฟระหว่างโครงคร่าวได้ง่าย แต่จะต้องเดินท่อร้อยสายไฟให้เสร็จก่อนที่จะปิดแผ่นผนัง ในส่วนของผนังก่ออิฐ ไม่ว่าจะเป็นอิฐมอญ อิฐบล็อก หรืออิฐมวลเบา หากต้องการฝังท่อไว้ในผนัง จะมีความยุ่งยากมากกว่า เนื่องจากต้องทำการกรีดผนังเพื่อเดินท่อร้อยสายไฟ แล้วฉาบปิดร่องด้วยปูนฉาบ (ปูนทราย)  จากนั้นติดลวดกรงไก่ บริเวณที่กรีดผนัง ก่อนทำการฉาบเพื่อป้องกันการแตกร้าวที่ผิวปูนฉาบในภายหลัง ข้อควรระวังคือ ไม่ควรฉาบผนังจนเรียบร้อยแล้วค่อยกรีดผนังเพื่อเดินท่อสายไฟ เพราะการฉาบทับเฉพาะผนังส่วนที่โดนกรีดมักจะทำได้ไม่เนียน และเห็นเป็นรอยปูนฉาบยาวๆ ดูไม่สวยงาม ซึ่งอาจทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในฉาบเก็บความเรียบร้อยของผนังทั้งผืนด้วยปูนฉาบบาง

การเดินสายไฟแบบฝังผนัง Read More »

ข้อดี ของการเดินสายเน็ตแบบ FiberOptic

“เน็ตไฟเบอร์ หรือ Fiber Optic” การเดินสายอินเทอร์เน็ตที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน … คลิกเพื่อเข้าอ่านบทความเพิ่มเติมได้เลยค่ะ

ข้อดี ของการเดินสายเน็ตแบบ FiberOptic Read More »