บริการงานเพิ่มจุด ปลั๊กไฟ โทรศัพท์
บริการงานเพิ่มจุด ปลั๊กไฟ โทรศัพท์
ไฟเบอร์ไทย บริการงานเพิ่มจุด ปลั๊กไฟ โทรศัพท์
- รับเพิ่มจุด และ แก้ไขปลั๊กไฟ ปลั๊กแลน ปลั๊กโทรศัพท์
- รับเดินสายไฟ สายแลน สายโทรศัพท์ใหม่
- แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงสายไฟ เต้าเสียบใหม่ สวิซไฟ
- รับเดินรางสายไฟไปตามโต๊ะทำงาน
** บริการเพิ่มจุด ปลั๊กไฟ, โทรศัพท์ 10 จุดขึ้นไป **
การติดตั้งเต้ารับความหมายและหน้าที่ของเต้ารับ
เต้ารับ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ต่อกระแสไฟฟ้าชั่วคราวไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า มีลักษณะ ต่าง ๆ กัน แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ชนิดเต้าเสียบ หรือปลั๊ก (Plug) และ เต้ารับ (Socket –outlet) อุปกรณ์ ทั้งสองจะใช้ร่วมกัน เพื่อเป็นจุดรับไฟเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นโทรทัศน์ เตารีด พัดลม ฯลฯ
มาตรฐานการติดตั้งเต้ารับ
- เต้ารับที่ใช้งานต้องมีพิกัดกระแส แรงดัน และประเภทการใช้งานที่เหมาะสม
- เต้ารับที่ใช้งานกลางแจ้ง หรือสถานที่เปียกชื้น ต้องเป็นชนิดที่ระบุ IP ให้ เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน กรณีป้องกัน น้ำสาดให้ใช้ไม่ต่ำกว่า I P X 4 งานป้องกันน้ าฉีดให้ใช้ ไม่ต่ากว่า I P X 5
- เต้ารับแบบติดพื้นหรือฝังพื้น การติดตั้งต้องป้องกันหรือหลีกเลี่ยงจากความ เสียหายทางกายภาพเนื่องจากการท าความสะอาดพื้นและการใช้งาน
- เต้ารับต้องติดตั้งอยู่เหนือระดับน้ าที่อาจจะท่วมหรือขังได้3.5 ขนาดของสายไฟฟ้าที่เต้ารับต้องไม่เล็กกว่า 1.5 ตร.มม
- เต้ารับที่อยู่ในวงจรย่อยต้องเป็นแบบมีขั้วสายดิน และ ต้องต่อลงดิน
- เต้ารับในสถานที่เดียวกันแต่ใช้แรงดันต่างกัน หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ งานต่างกัน ต้องจดท าให้เต้าเสียบนั้นไม่สามารถสลับกันได้
ข้อควรระวังเกี่ยวกับเต้ารับ
- เวลาต่อสายในปลั๊ก ต้องตรวจสอบให้ดีอย่าให้สายไฟสัมผัสกันเป็นอันขาด
- อย่าใช้การดึงสายไฟที่ปลั๊กตัวผู้ เมื่อต้องการถอดปลั๊ก
- ขันสกรูให้ตะปูควงให้แน่น ป้องกันสายหลุด
- ไม่ควรใช้งานมากเกินไปเนื่องจากจะมีความร้อนอาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้
- ตำแหน่งที่ติดตั้งเต้ารับจะต้องห่างจากน้ำ และ เด็กเล็กไม่สามารถหยิบจับได้
การเดินสายไฟแบบฝังผนัง
เป็นการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) ที่ฝังไว้ในผนัง ซึ่งทำให้ผนังบ้านดูเรียบร้อย ไม่มีสายไฟให้เห็น แต่ก็มีขั้นตอนในการก่อสร้างที่ยุ่งยาก เพราะต้องมีการวางแผนการก่อสร้างเป็นอย่างดี การซ่อมแซมหรือเพิ่ม-ลดสายไฟทำได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการเท่านั้น และใช้งบประมาณมากพอสมควร ส่วนการเดินสายไฟแบบลอย สามารถทำได้ทั้งแบบเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ และการเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ ซึ่งจะเห็นสายไฟเป็นเส้นๆ แนบไปกับผนัง การเดินสายไฟแบบลอยจะใช้งบประมาณที่น้อยกว่า และการซ่อมแซมหรือเพิ่ม-ลดสายไฟทำได้ง่ายกว่า แต่ก็ต้องคำนึงถึงการเดินสายไฟให้เป็นระเบียบสวยงาม
การเดินสายไฟแบบฝังผนัง
สามารถฝังได้ทั้งในผนังเบา และผนังก่ออิฐ สำหรับผนังเบาเป็นผนังที่ประกอบไปด้วยโครงคร่าว ที่มีช่องว่างภายใน สามารถเดินท่อร้อยสายไฟระหว่างโครงคร่าวได้ง่าย แต่จะต้องเดินท่อร้อยสายไฟให้เสร็จก่อนที่จะปิดแผ่นผนัง ในส่วนของผนังก่ออิฐ ไม่ว่าจะเป็นอิฐมอญ อิฐบล็อก หรืออิฐมวลเบา หากต้องการฝังท่อไว้ในผนัง จะมีความยุ่งยากมากกว่า เนื่องจากต้องทำการกรีดผนังเพื่อเดินท่อร้อยสายไฟ แล้วฉาบปิดร่องด้วยปูนฉาบ (ปูนทราย) จากนั้นติดลวดกรงไก่ บริเวณที่กรีดผนัง ก่อนทำการฉาบเพื่อป้องกันการแตกร้าวที่ผิวปูนฉาบในภายหลัง ข้อควรระวังคือ ไม่ควรฉาบผนังจนเรียบร้อยแล้วค่อยกรีดผนังเพื่อเดินท่อสายไฟ เพราะการฉาบทับเฉพาะผนังส่วนที่โดนกรีดมักจะทำได้ไม่เนียน และเห็นเป็นรอยปูนฉาบยาวๆ ดูไม่สวยงาม ซึ่งอาจทำให้ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในฉาบเก็บความเรียบร้อยของผนังทั้งผืนด้วยปูนฉาบบาง (สกิมโค้ท) หรือปิดทับด้วยวอลล์เปเปอร์
การเดินสายไฟแบบฝังผนัง มักจะใช้สายไฟประเภท THW มีลักษณะเป็นสายกลม
มีสีต่างๆ ภายในมีลวดทองแดงแกนเดียว ร้อยในท่อร้อยสายไฟ โดยท่อ 1 เส้นสามารถมีสายไฟได้หลายเส้นที่เป็นวงจรเดียวกัน ไม่ควรร้อยสายไฟหลายเส้นต่างวงจรกันในท่อเดียว เพื่อป้องกันความสับสนเมื่อซ่อมบำรุง
ท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit)
เป็นสิ่งที่จะช่วยปกป้องสายไฟ และรวบรวมสายไฟหลายๆ เส้นไว้ด้วยกัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ท่อโลหะ และท่อพลาสติก การเดินสายไฟแบบฝังผนังสามารถเลือกได้ทั้งท่อโลหะ และท่อพลาสติก ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ซึ่งท่อโลหะจะแพงกว่า แต่ก็ทนทานกว่าเช่นกัน
ท่อโลหะ เป็นท่อที่ทำจากเหล็ก ชุบสังกะสี แบ่งออกเป็น 5 ชนิด มีการใช้งานที่ต่างกันดังนี้
- 1. ท่อโลหะขนาดบาง (EMT, Electrical Metallic Tubing) มีขนาด 1/2 - 2 นิ้ว ใช้เดินลอยภายในอาคาร หรือฝังในผนังได้ แต่ห้ามฝังดิน หรือฝังในพื้นคอนกรีต
- 2. ท่อโลหะขนาดกลาง (IMC, Intermediate Conduit) มีขนาด 1/2 – 4 นิ้ว ใช้เดินลอยภายนอกอาคาร หรือฝังในผนัง และพื้นคอนกรีตได้
- 3. ท่อหนาพิเศษ (RSC, Rigid Steel Conduit) มีขนาด 1/2 – 6 นิ้ว ใช้เดินลอยภายนอกอาคาร หรือฝังในผนัง และพื้นคอนกรีตได้ เช่นเดียวกับท่อ IMC แต่จะแข็งแรงมากกว่า
- 4. ท่อโลหะอ่อน (Flexible Metal Conduit) เป็นท่อที่มีความอ่อนตัว โค้งงอได้ เหมาะสำหรับต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ดวงโคม เป็นต้น
- 5. ท่อโลหะอ่อนกันน้ำ (Raintight Flexible Metal Conduit) เป็นท่อโลหะอ่อนที่มีเปลือก PVC หุ้มด้านนอกเพื่อกันความชื้น ใช้สำหรับต่อเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าในที่ที่มีความชื้น เช่น เครื่องทำน้ำอุ่นในห้องน้ำ เป็นต้น
ท่อพลาสติก มีราคาถูกกว่าท่อโลหะ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
- 1. ท่อพีวีซี (PVC, Polyvinyl Chloride) เป็นท่อผลิตจากวัสดุ PVC มีคุณสมบัติทนความชื้น ไม่ขึ้นสนิม ทนความร้อนได้ 60 องศา มีสองสีคือ สีเหลือง เหมาะกับการเดินท่อฝังในผนัง และสีขาว เหมาะกับการเดินท่อลอยเนื่องจากทาสีทับได้ง่าย
- 2. ท่อ HDPE (High Density Polyethylene) เป็นท่อที่มีความอ่อนตัวพอสมควร และมีความแข็งแรงสูง ใช้เดินสายภายนอกอาคาร และสายใต้ดิน
- 3. ท่อ EFLEX เป็นท่อที่มีลักษณะเป็นปล้องๆ มีความอ่อนตัว โค้งงอได้ คล้ายท่อโลหะอ่อน
ท่อร้อยสายไฟ
จะเชื่อมต่อระหว่างตู้ไฟ กล่องพัก/แยกสายไฟฟ้าที่อยู่บนเพดาน และกล่องปลั๊กไฟหรือกล่องสวิตช์ไฟ (Handy Box) โดยจะมีหัวต่อท่อสำหรับยึดท่อให้อยู่กับกล่องต่อสายไฟฟ้าในแต่ละจุด สามารถดัดโค้งไปตามจุดต่างๆ ได้ แต่หากดัดโค้ง 90 องศา ไม่ควรดัดเกิน 4 โค้งต่อท่อ 1 เส้น เนื่องจากจะร้อยสายไฟเข้าไปในท่อลำบาก
การเดินสายไฟแบบลอย
สามารถทำได้ทั้งแบบเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ และการเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ โดยการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟแบบลอย สามารถเลือกใช้ท่อร้อยสายไฟได้ทั้งแบบโลหะ และแบบพลาสติก PVC โดยท่อโลหะจะมีความแข็งแรงทนทาน สามารถโชว์ความสวยงามของท่อได้ ส่วนท่อพลาสติกซึ่งมีราคาประหยัดกว่า แต่ควรทาสีทับท่อเพื่อความสวยงามและกลมกลืนไปกับผนัง ทั้งนี้ การเชื่อมท่อแบบเดินลอยเข้ากับกล่องปลั๊กไฟหรือกล่องสวิตช์ไฟ ต้องคำนึงถึงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้ดี เนื่องจากกล่องปลั๊กไฟและกล่องสวิตช์ไฟจะอยู่บนผนังลอยออกมาเช่นกัน
การเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การเดินสายไฟแบบเปิด คือการเดินสายไฟโดยมีเข็มขัดรัดยึดสายไฟเข้ากับผนัง หรือเพดานของอาคาร ทุกระยะประมาณ 10 ซม. ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เต้ารับ สวิตช์ ตู้ไฟหรือแผงวงจร รวมถึงดวงโคมไฟฟ้าในจุดต่างๆ สายไฟที่ใช้จะเป็นสายที่หุ้มฉนวนยาง หรือ PVC โดยทั่วไปที่ใช้ตามบ้านมักจะเป็นสาย VAF มีลักษณะเป็นสายแบนๆ สีขาว ภายในสายจะมีลวดทองแดง 2 แกนหรือ 3 แกน หุ้มด้วยฉนวน 2 ชั้น
การเดินสายไฟแบบตีกิ๊บนี้มีราคาถูกที่สุดในการเดินสายไฟทุกวิธี เนื่องจากไม่ต้องใช้ท่อร้อยสายไฟ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันช่างที่มีฝีมือในการเดินสายแบบตีกิ๊บก็หายากมากขึ้น เนื่องจากเป็นงานที่ต้องใช้ความประณีตในการเรียงสายไฟ รีดสายไฟให้เรียบไปกับผนัง และติดตั้งระยะกิ๊บให้เป็นระเบียบ รวมถึงสายไฟก็มีโอกาสเสียหายได้มากกว่าเนื่องจากไม่มีท่อร้อยสายไฟคอยปกป้องโดยสรุปแล้วการเดินสายไฟแบบฝังผนังทำให้บ้านดูเรียบร้อยมากกว่า แต่ก็ต้องใช้งบประมาณที่มากกว่าเช่นกัน และยังต้องมีการออกแบบและการวางแผนการก่อสร้างที่ดี จึงจะได้งานที่สมบูรณ์และไม่ต้องแก้ไขในภายหลัง อย่างไรก็ตามการเดินสายไฟแบบเดินลอย หากเดินสายไฟหรือท่อร้อยสายไฟอย่างเป็นระเบียบ บ้านก็สามารถมีความสวยงามได้เช่นกัน โดยเฉพาะการตกแต่งบ้านสไตล์ลอฟต์ ซึ่งการซ่อมบำรุง และติดตั้งสายไฟเพิ่มเติมทำได้ง่ายกว่า
สายไฟในปัจจุบันมีแบบไหนบ้าง ?
สายแรงต่ำ
- สายไฟฟ้าอลูมิเนียม หุ้มฉนวนด้วย PVC มีตัวนำเป็น อลูมิเนียม หุ้มฉนวนด้วย PVC ใช้กับงานแรงดันไม่เกิน 750 โวลต์ สามารถใช้
งานเป็นสายประธาน หรือ สายป้อน ใช้เดินในอากาศเหนือพื้นดิน การไฟฟ้าใช้สายนี้เดินไฟฟ้าแรงดันต่ำจากหม้อแปลงเพื่อจ่ายให้แก่ผู้ใช้ทั่ว ไปตามบ้าน - สายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนด้วย PVC เนื่องจากทองแดงมีคุณสมบัติข้อดีมากกว่าอลูมิเนียม เช่น มีความนำไฟฟ้าสูงกว่า การตัดต่อตัวนำสามารถทำได้ง่ายกว่า จึงนิยมใช้สายไฟฟ้าที่ทำจากวัสดุนี้มาก สายไฟฟ้าที่ทำจากตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนด้วย PVC แต่ละชนิดก็มีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกันไป
- สายไฟฟ้าตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนด้วย XLPE เป็นสายที่มีฉนวนเป็น XLPE ทนความร้อนได้สูงกว่า PVC แข็งแรง สามารถทนแรงดึงสูง และ การกัดกร่อนทางเคมีได้ดี โดยทั่วไปสายชนิดเรียกว่า CV หรือ CCV
สายไฟที่นิยมใช้ในบ้านเรา ตามมาตรฐาน มอก. 11-2531
- สาย IV หรือสาย HIV เป็นสายแกนเดียว มีฉนวนชั้นเดียวสามารถทนแรงดันได้สูงสุด 300 โวลต์ เหมาะกับการใช้งานเป็นสายประธานเดินเข้าอาคารบ้านพักอาศัย และ เดินสายไฟภายในอาคาร โดยเดินลอย หรือเดินในรางเดินสายซึ่งเป็นที่แห้ง ใช้สำหรับไฟฟ้า 1 เฟส แรงดัน 220 โวลต์ ห้ามร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรง
- สาย VAF เป็นสายทนแรงดันได้สูงสุด 300 โวลต์ มีทั้งชนิดสายกลมเดี่ยวหุ้มฉนวนและมีเปลือกนอก และชนิดสายแบน 2 แกนหรือ 3 แกน หุ้มฉนวนชั้นในด้วย PVC สีดำ และ สีเทาอย่างละแกน แล้วหุ้มเปลือกนอกด้วย PVC สีขาว สายนี้เหมาะกับการใช้เดินสายสำหรับไฟ 1 เฟส 2 สาย ในอาคารทั่วไป โดยการเดินลอยเกาะผนัง ห้ามใช้สายนี้กับระบบไฟ 3 เฟส 380โวลต์ ห้ามร้อยท่อฝังดิน ห้ามแช่น้ำ หรือ ฝังดินโดยตรง เดินในรางเดินสายได้แต่ห้ามเดินในช่องเดินสาย
- สาย VAF-GRD เป็นสายทนแรงดันสูงสุด 300 โวลต์ มีคุณสมบัติเหมือนสาย VAF เพียงเพิ่มสายดินเข้ามาอีก 1 แกน มีทั้งเป็นแบบสาย 2 แกน และ 3 แกน ใช้งานในการเดินสายไฟฟ้าภายในบริเวณบ้านทั่วไป ห้ามร้อยท่อฝังดิน หรือห้ามใช้เดินฝังดินโดยตรง
- สาย THW ทนแรงดันสูงสุด 750 โวลต์ ลักษณะเป็นสายแกนเดียว หุ้มฉนวนด้วย PVC ชั้นเดียว เหมาะกับการใช้งานเป็นสายประธาน เดินไฟ 1 เฟส 2 สายเข้าสู่บ้านพักอาศัย และ ยังนิยมใช้เป็นสายวงจรย่อย สำหรับเดินไฟในท่อฝังผนัง หรือ เดินไฟฟ้าเข้าเครื่องจักรในระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 380 โวลต์ การใช้งานสามารถเดินลอยในอากาศ รางเดินสาย หรือร้อยท่อฝังดินที่ไม่ให้น้ำเข้า แต่ห้ามฝั่งดินโดยตรง
- สาย NYY แกนเดียว และ สาย NYY ขนาด 2 ถึง 4 แกน ทนแรงดันสูงสุดที่ 750 โวลต์ เป็นสายกลม หุ้มฉนวนด้วย PVC และ หุ้มเปลือกชั้นใน และ ชั้นนอกด้วย PVC ใช้งานในการเดินสายทั่วไป นิยมใช้เป็นสายป้อน หรือ สายประธาน สามารถร้อยท่อฝังดิน หรือ ฝังดินได้โดยตรง
- สาย NYY-N เป็นสาย 4 แกน มีสายไฟ 3 แกน และ สายนิวทรัล 1 แกน ตัวนำหุ้มฉนวนด้วย PVC ตีเกลียวรวมศูนย์แล้วหุ้มเปลือกชั้นใน และเปลือกชั้นนอกด้วย PVC ใช้งานในการเดินสายเมนเข้าอาคารสำหรับระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส 4 สาย สามารถใช้งานโดยร้อยท่อฝังดิน หรือฝังดินโดยตรง
- สาย NYY-GRD เป็นสายทนแรงดัน 750 โวลต์ ชนิดเดียวกับสาย NYY มีสายดินเพิ่มเข้ามาอีก 1 แกน ใช้งานเดินเป็นสายประธาน หรือ เดินสายเข้าเครื่องจักร สามารถเดินในท่อฝังดิน หรือ ฝังดินได้โดยตรง
- สาย VCT เป็นสายทนแรงดันสูงสุด 750 โวลต์ มีทั้งสายแกนเดียว ถึง 4 แกน ตัวนำเป็นทองแดงสายฝอย หุ้มฉนวนด้วย PVC นำมาตีเกลียวรวมศูนย์และ หุ้มเปลือกนอกด้วย PVC อีกชั้นหนึ่ง มีลักษณะอ่อนตัว ทนต่อสภาพการสั่นสะเทือน เหมาะที่จะใช้งานเป็นสายเดินเข้าเครื่องจักร ใช้ในการเดินสายทั่วไป สามารถร้อยท่อฝังดิน หรือ เดินสายฝังดินโดยตรง
- สาย VCT-GRD เป็นสายทนแรงดัน 750 โวลต์ชนิดเดียวกับสาย VCT โดยมีสายดินเพิ่มเข้ามา 1 แกน ใช้งานในการเดินสายไฟเข้าเครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่
- สาย VVR เป็นสายทนแรงดันได้สูงสุด 300 โวลต์ มีทั้งชนิดแกนเดียว และหลายแกน ลักษณะสายเป็นทองแดงหุ้มฉนวนด้วย PVC และ หุ้มเปลือกนอกด้วย PVC ถ้าเป็นสายหลายแกนจะเป็นสายทองแดงหุ้มฉนวนด้วย PVC แล้วนำสายแต่ละแกนมาตีเกลียวรวมศูนย์ และหุ้มเปลือกนอกด้วย PVC อีกครั้ง เหมาะสำหรับใช้งานในการเดินสายทั่วไป โดยเดินลอย หรือเดินในรางแห้ง ห้ามฝังดินโดยตรง แต่สามารถร้อยท่อฝังดินได้โดยไม่ให้น้ำเข้าท่อหรือแช่น้ำ
- สาย VVR-GRD เป็นสายทนแรงดันสูงสุด 300 โวลต์ ชนิดเดียวกับสาย VVR โดยมีสายดินเพิ่มเข้ามา 1 แกน ใช้ในการเดินสายไฟฟ้าทั่วไป โดยเดินในอากาศ หรือเดินในรางสายไฟ สามารถร้อยท่อฝังดิน แต่ห้ามฝังดินโดยตรง
- สาย VVF เป็นสายทนแรงดันสูงสุด 750โวลต์ มีทั้งสายกลมแกนเดียว และสายแบน 2 แกน ลักษณะเป็นตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนชั้นในด้วย PVC สำหรับสายแบน 2 แกนเปลือกในจะมีสีดำและสีเทา และหุ้มเปลือกนอกด้วย PVC อีกชั้น เปลือกนอกมีสีขาว ใช้งานในการเดินสายลอย เดินเกาะผนัง วางในรางเดินสายได้แต่ ห้ามเดินในท่อร้อยสาย ห้ามร้อยท่อฝังดิน หรือ ฝังดินโดยตรง
- สาย VVF-GRD สามารถทนแรงดันสูงสุด 750 โวลต์ เป็นสายแบน 2 แกน มีสายดินเพิ่มมาอีก 1 แกน มีคุณสมบัติเหมือนกับสาย VVF ใช้ในการเดินสายทั่วไป เดินเกาะผนัง เดินซ่อนในผนัง ห้ามเดินในช่องเดินสาย ยกเว้น รางเดินสาย ห้ามร้อยท่อฝังดิน หรือ ฝังดินโดยตรง
- สาย VSF, VFF และ VTF เป็นสายทนแรงดันสูงสุด 300 โวลต์ ตัวนำเป็นทองแดงสายฝอย หุ้มฉนวนชั้นเดียวด้วย PVC สายVSF เป็นสายกลมแกนเดียว สาย VFF เป็นสายกลม 2 แกนติดกัน สาย VTF เป็นสาย กลม 2 แกน ตีเกลียวรวมแกนแต่ไม่มีเปลือกนอกหุ้ม ส่วนมากใช้งานสำหรับการต่อเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก หรือใช้กับโคมไฟต่าง ๆ
- สาย VFF-GRD เป็นสายทนแรงดัน 300 โวลต์ ชนิดเดียวกับสาย VFF โดยมีสายดินเพิ่มเข้ามาอีก 1 แกน ใช้งานในการเดินสายไฟเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆไป ไม่ควรใช้ร้อยท่อฝังดิน หรือเดินฝังดินโดยตรง
- สาย VFF-F หรือ VKF เป็นสายทนแรงดัน 300 โวลต์ หุ้มฉนวนด้วย PVC มีเปลือกนอก มีหลายแกน ใช้ในการต่อเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป
SHINY FACE PLATE : หน้ากากขาวมันเงา (ไม่มีป้ายชื่อ)
(US-2311)
1 Port : 18 บาท
(US-2312)
2 Port : 18 บาท
(US-2313)
3 Port : 18 บาท
(US-2314)
4 Port : 20 บาท
(US-2316)
6 Port : 24 บาท
SHINY EXCLUSIVE FACE PLATE/W Shutter : หน้ากากมันเงารุ่นสวยสุดหรูมีชัตเตอร์
(US-2331)
1 Port : 55 บาท
(US-2332)
2 Port : 55 บาท
(US-2333)
3 Port : 55 บาท
(US-2334)
4 Port : 60 บาท
✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾
✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾✾
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ งานบริการของเรา
Our Clients
logo slider
รับเดินสายแลน – เดินสายไฟเบอร์ – บริการเดินสายแลน – เดินสายไฟเบอร์ – lan – fiber – เดินสาย Cat5 – เดินสาย Cat6 – ติดตั้งกล้องวงจรปิด – เดินสาย CCTV – เดินสายกล้อง – เดินสาย RG6 – เดินสายโทรศัพท์ – เดินสาย Telephone – ติดตั้ง Accesspoint – ติดตั้ง Wireless – RACK