เป็นปัญหาที่หลอกหลอนเราอยู่เสมอกับการที่สถานะเน็ตภายใน LAN ดูชัดเจนแจ่มแจ๋ว แต่กลับท่องเว็บไทยเว็บเทศอะไรไม่ได้เลย จะมานั่งปิด WiFi ใช้ 4G ออกเน็ตตลอดแล้วใครจะมารับผิดชอบค่าเน็ต ดังนั้นเราควรศึกษาวิธีแก้ปัญหาที่ถัดขึ้นมาจากเลเยอร์กายภาพของ OSI ไว้บ้างเมื่อเสียบสายแลนเข้าออก เปลี่ยนสายเปลี่ยนรูใหม่ ปิดเปิดเราเตอร์แล้วก็ยังเฉย ดังต่อไปนี้
- ตรวจการตั้งค่าบนเราเตอร์
ก็ถ้าแลนภายในยังใช้ได้ ก็ควรเปิดหน้าเว็บตั้งค่าของเราท์เตอร์ได้ เปิดหน้าบราวเซอร์ไปยังหน้าไอพีของเราเตอร์ (ที่มักจะดีฟอลต์เป็นไอพีเบอร์แรกของวงแลน เช่น http://192.168.1.1 หรือ 168.2.1 หรือตรวจหาคู่มือที่อยู่ด้านในกล่องและค้นหาคู่มือบน internet ซึ่งเรื่องไอพีกับชื่อวงเน็ตเวิร์กก็เป็นสิ่งที่คุณที่เป็นเจ้าของวงแลนควรรู้มาก่อนแล้ว) แม้หน้าเว็บของเราท์เตอร์แต่ละยี่ห้อจะแตกต่างกัน แต่ช่วยลองเข้าไปดูหน้าส่วนที่แสดง “สถานะเครือข่าย” ว่าสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เข้ามายังอัพอยู่หรือไม่ หรือบางคนใช้ทางลัดด้วยการวิ่งไปดูไฟสถานะบนเราเตอร์ด้วยตัวเองว่าไฟตรงโลโก้ลูกโลกหรืออะไรที่เคยขึ้นเป็นปกติยังเขียวอยู่ไหม ถ้าสรุปดูได้ว่าสัญญาณเน็ตก็เน่า ก็เริ่มแก้ด้วยตัวเองจากการปิดหรือดึงสายเน็ตออกมาสัก 2 – 3 นาที แล้วจึงเปิดหรือเสียบสายใหม่ ถ้าเราท์เตอร์ยังเชื่อมต่อเน็ตไม่ได้อยู่ ก็ถึงเวลาโทรหาคอลเซ็นเตอร์ของ ISP ล่ะ - ถ้าใช้ฮอตสปอตสาธารณะข้างนอก
ส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครให้ใช้ฟรีแบบสักแต่ต่อไวไฟแล้วเล่นได้เลยอีกแล้ว ให้ลองเปิดหน้าเว็บสักเว็บ ซึ่งมักจะโดนรีไดเร็กต์ไปหน้าล็อกอินหรือลงทะเบียนอีกทีหนึ่ง ซึ่งคุณต้องจัดการก่อนที่ระบบฮอตสปอตดังกล่าวจะยอมปล่อยให้คุณใช้งานได้ปกติ
- ลองใส่รหัสไวไฟใหม่อีกครั้ง
เพราะ OS เก่าบางรุ่น (เช่นรุ่นพิมพ์นิยมแบบวินโดวส์ XP) จะตีมึนไม่ฟ้องให้คุณรู้ตัวว่าใส่รหัสผิด แน่นอนว่าถ้าใส่รหัส WEP/WPA ผิด ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อหรือเอาคีย์ผิดๆ นั้นถอดรหัสข้อมูลที่เชื่อมต่อผ่านไวไฟนั้นได้ หรือแม้แต่กรณีของฮอตสปอตก็เช่นกัน บางระบบหน้าเว็บก็อาจแสดงข้อความงงๆ ว่าตกลงคุณลงทะเบียนหรือใส่รหัสผ่านถูกจนยอมปล่อยให้ใช้เน็ตได้ไหม แต่พอจะเข้าเว็บอื่นก็โดนรีไดเรกต์มาหน้ากรอกรหัสผ่านใหม่อยู่ดี เป็นต้น
- ลองตรวจแบลกลิสต์ของ MAC Address ตรวจ MAC Address บนเราท์เตอร์หรือแอคเซสพอยต์ซึ่ง MAC ก็เป็นที่อยู่ที่ระบุฮาร์ดแวร์ หรือชิปไวไฟบนอุปกรณ์หรืออินเทอร์เฟซกายภาพแต่ละตัวแต่ละพอร์ตที่แตกต่างไม่มีวันซ้ำกัน และฟิลเตอร์บนอุปกรณ์บางรุ่น โดยเฉพาะรุ่นระดับองค์กรนั้น มักใช้วิธีบล็อกมันทั้งหมดจนกว่าจะมีการเพิ่ม MAC Address ในไวท์ลิสต์ทีละตัวๆ เพื่อความปลอดภัยขั้นสุดยอด เป็นต้น
- วิธีสากลโลก เปลี่ยน DNS ซะโดย
เฉพาะพวกที่รับไอพี DNS อัตโนมัติจากเราท์เตอร์ผ่าน DHCP แล้วดันเซ็ตให้ไปใช้ DNS ชี้ไปที่ไอพีบนเราท์เตอร์ โดยเฉพาะเราท์เตอร์ตามบ้านราคาถูกที่มักแรมเต็มซีพียูรวนเมื่อใช้ติดต่อกันนานๆ บางทีแค่เราไปเปลี่ยนการตั้งค่าไอพีให้ใช้ DNS ที่เราตั้งเองแทนบนเครื่อง หรือลองเปลี่ยนจากเดิม เช่นจากไอพีของ ISP เป็น DNS เจ้าอื่นที่เชื่อถือได้ (ไม่ใช่ไปเอา DNS มั่วบนเน็ตจนไปเจอของแฮ็กเกอร์ที่รีไดเร็กต์เว็บมั่วไปหาฟิชชิ่ง) เช่นของกูเกิ้ล 8.8.8.8 ก็ช่วยเปิดทางสู่สวรรค์ได้เหมือนกัน